ลพ.อุ้น วัดตาลกง จ.เพรชบุรี

รายละเอียด: หลวงพ่ออุ้น หรือ พระครูวินัยวัชรกิจ สิริอายุ 91 พรรษา 71 เป็นเจ้าอาวาสวัดตาลกง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ท่านเกิดในสกุล อินพรหม เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2459 ที่บ้านหนองหินถ่วง ต.มาบปลาเค้า อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบุญ และ นางเล็ก อินพรหม ท่านเป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 8 คน คือ 1.ลพ.อุ้น 2.นายอิ่น 3.นายเอื่อน 4.นายพวง 5.นายแดง 6.นางพุด 7.นางเพี้ยน 8.นางพ้วน 

ลพ.อุ้น เริ่มการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย-ขอมที่วัดไสค้าน จนกระทั่งจบการศึกษาภาคบังคับ แล้วมาช่วยเหลือบิดา มารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ นายอุ้น ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม2479 ณ พัทธสีมา วัดตาลกง โดยมีพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการผิว วัดตาลกง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการขาว วัดอินจำปา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดตาลกง ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่รับใช้หลวงพ่อผิว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาพุทธาคมโดยเริ่มจากการอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อผิว ธมฺมสิริ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญวิทยาคมด้านอยู่ยงคงกระพันเมื่อท่านมาอยู่รับใช้ใกล้ชิด จนเป็นที่โปรดปรานมาก ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากลพ.ผิว จนหมดสิ้นในพรรษาต่อมา พระอุ้นได้เดินทางไปกราบนมัสการ ลพ.ทองศุข ที่วัดโตนดหลวง และถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาเล่าเรียนวิชาโดยเริ่มจากเรียนฝึกวิชากสิณจนเชี่ยวชาญในกสิณ 10 รวมทั้งยังได้เรียนตำรับผงเมตตาต่างๆ อีกด้วย

ลพ.ทองศุข ท่านเห็นความมานะพยายาม ประจวบกับที่ลพ.ผิว อดีตเจ้าอาวาสวัดตาลกง มีความคุ้นเคยกันมาก่อน
จึงรับท่านไว้เป็นศิษย์ แล้วถ่ายทอดวิชาให้อย่างเต็มกำลัง ซึ่งที่จริงแล้วศิษย์ ลพ.ทองศุข นั้นมีด้วยกันอยู่หลายรูป
และล้วนมีชื่อเสียงด้วยกันทั้งนั้น เช่น ลป.คำ วัดหนองแก ลป.นิ่ม วัดเขาน้อย ลพ.ยิด วัดหนองจอก ลพ.พิมพ์มาลัย
วัดหุบมะกล่ำ ลพ.อบ วัดถ้ำแก้ว ลพ.แผ่ว วัดโตนดหลวง ลพ.แล วัดพระทรง เป็นต้นโดยก่อนที่จะมีการศึกษาเล่า
เรียนวิชา ลพ.ทองศุข ได้ดูฤกษ์ยามก่อนแล้วกำหนดนัดวันให้เดินทางไปทำพิธียกครู โดยมีขัน 5 ดอกไม้ ธูป เทียน
บายศรี ทำพิธีไหว้ครูอย่างเป็นทางการ จึงกล่าวได้ว่าลพ.อุ้น เป็นศิษย์ผู้สืบสายพุทธาคมจากลพ.ทองศุขรูปหนึ่ง
อย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงการกล่าวอ้าง สำหรับการเรียนวิชาของท่านนั้น ต้องเดินทางจากวัดตาลกงไปเรียนที่วัด
โตนดหลวง ครั้งหนึ่งจะต้องไปพักอยู่วัดโตนดหลวงถึง 15 วัน ไปกลับอย่างนี้เป็นประจำและยังออกปริวาสกรรมร่วมกับลพ.ทองศุข ขึ้นเขาไปบำเพ็ญเพียรในป่าช้าบ่อยครั้งต่อมา ท่านได้พบกับลพ.จัน วัดมฤคทายวัน ซึ่งเป็นญาติกับลพ.ทองศุข โดยลพ.จันได้ถ่ายทอดวิชาสะกดชาตรี ให้กับ ลพ.อุ้น ซึ่งเป็นวิชาที่ใช้สะกดสัตว์ร้ายให้อยู่กับที่ สำหรับวิชาที่โดดเด่นมากของ ลพ.ทองศุข ยากที่ศิษย์ผู้ใดจะได้รับการถ่ายทอด คือวิชาทำผงพระจันทร์ครึ่งซีก ซึ่งเป็นเมตตามหานิยม มีพุทธคุณอมตะล้ำลึก นอกจากนั้นยังได้รับการถ่ายทอดการทำผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงหน้าพระภักษ์ ส่วนอีกวิชาหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจาก ลพ.ศุข คือการสักยันต์คงพระพันชาตรี ส่วนวิชา นะ ปัดตลอด นั้น ลพ.อุ้นก้ได้รับการถ่ายทอดมาด้วยจากนั้น ท่านได้ไปกราบนมัสการพระอธิการชัน วัดมาบปลาเค้า ขอศึกษาเล่าเรียนวิทยาคม ได้รับการถ่ายทอดวิชาอยู่ยงคงกระพัน ทำตะกรุด เสกลิงลมขับคุณไสย เป็นต้น

เมื่อได้เรียนวิทยาคมต่างๆ มาอย่างช่ำชอง ได้เคยนำวิชามาช่วยชาวบ้านขับคุณไสย ขับผี ไล่วิญญาณพเนจรที่เข้าสิงชาวบ้านจนขึ้นชื่อ ที่ใดในแถบตำบลนั้นมีปัญหาเรื่องผีเข้า ถ้าขู่ว่าจะพาไปหาหลวงพ่ออุ้น มักจะออกไปทันที

ด้านการพัฒนาวัด หลวงพ่ออุ้นได้อยู่ช่วยเหลือหลวงพ่อผิว สร้างวัดตาลกงมาตั้งแต่แรก จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
หลวงพ่ออุ้น เป็นตัวอย่างของพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นพระที่ไม่สะสม ไม่ปรุงแต่ง ไม่ยึดติดในลาภสักการะ มีแต่สงเคราะห์ช่วยเหลือ แผ่เมตตาบารมี

ผลงานการสร้างเสนาสนะสงฆ์ตลอดทั้งถาวรวัตถุต่างๆ ปรากฏเป็นรูปธรรมมากมาย เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ฌาปนสถาน สำนักสงฆ์ โรงเรียน ถนน และอื่นๆ อีกมากมายหลวงพ่ออุ้น ได้ริเริ่มพัฒนาดำเนินการจัดสร้างสำนักสงฆ์ท่าไม้ลายขึ้น ตั้งอยู่หมู่ 6 ต.เขาเจ้า อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และได้สร้างโรงเรียนขึ้นพร้อมกัน ทุกวันนี้หลวงพ่อยังไปมาสำนักสงฆ์แห่งนี้อย่างสม่ำเสมอ ได้นำเอาเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกให้เด็กนักเรียนอยู่เป็นประจำ

ประวัติลำดับงานปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์

พ.ศ.2500 เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ.2504 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอธิการอุ้น สุขกาโม เจ้าอาวาสวัดตาลกง

พ.ศ.2508 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ พระครูสังฆรักษ์อุ้น สุขกาโม

พ.ศ.2522 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูวินัยวัชรกิจ

พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

ลพ.อุ้น เป็นพระที่มีความรู้ความสามารถในไสยเวทพุทธาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีญาณสมาบัติแก่กล้า มีวิชาทำ
วัตถุมงคล ตามตำรับพระเกจิอาจารย์โบราณคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคอดีต เอกลักษร์ของท่านอีกข้อหนึ่งคือ การ
พูดตรงไปตรงมา ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีความสำรวมในศิลจารวัตรและมีความเมตตาธรรมมากครับถ้าใครได้เข้าไปกราบท่านจะทราบถึงความเมตตาของท่านที่มีมากครับ และทุกปีท่านก็จะมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กที่เรียนดีแต่ยากจนเป็นประจำทุกปี

สำหรับการสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นครั้งแรกของหลวงพ่ออุ้น คือ การสร้างพระผงสมเด็จเหม็น โดยเริ่มต้นการสร้างใน พ.ศ.2495 และสิ้นสุดลงในปลาย พ.ศ.2497 รวมเวลาการสร้างกว่า 3 ปี สร้างไว้ประมาณ 84,000 องค์ โดยหลวงพ่ออุ้นร่วมกับพระสงฆ์ภายในวัดตาลกงช่วยกัน นำผลพุทธคุณ ที่มีผงอิทธิเจของลพ.แก้ว วัดเครือวัลย์ ที่ทำไว้สมัยลพ.แก้ว อยู่ที่วัดปากทะเล มาหมักผสมกับข้าวสุกจากปากบาตร และข้าวก้นบาตรของพระสงฆ์ หากหมักทิ้งไว้หลายวันก็จะมีกลิ่นเหม็นมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ สมเด็จเหม็น

หลังจากสร้างพระผงสมเด็จเหม็น มีการสร้างพระผงต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น พระผงสมเด็จ 7 ชั้น เนื้อเหม็น
พระสมเด็จ 9 ชั้น เนื้อผสมแร่ พระสมเด็จขี่เสือเนื้อผง เป็นต้น นับรวมกันแล้ว มีพระผงอยู่ประมาณ 26-30 พิมพ์ได้
ต่อมา ได้สร้างวัตถุมงคลด้วยเนื้อแร่เขาพรหมชะแง้ เช่น พระสมเด็จขี่เสือใหญ่ เสือเล็ก พระสมเด็จปรกโพธิ์ ซึ่งมี
พุทธคุณครอบจักรวาลเหมือนดังเหล็กไหล

นอกจากนั้นเป็ระยะเวลาหลายปีจึงได้มีการ สร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ.2540 โดยสร้างเหรียญรูปไข่รุ่นแรกขึ้น มี 4 เนื้อ คือ ทองคำ สร้างไว้ 9 เหรียญ , เงิน สร้างไว้ 99 , เหรียญ นวะสร้างไว้ 500 เหรียญ และเนื้ออัลปาก้าสร้างไว้ 10,000 เหรียญรวมทั้งยังมีรูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก ที่สร้างในปีเดียวกัน ซึ่งพระชุดนี้เป็นพระที่มีประสบการณ์สูงมากจนทำให้ผู้คนรู้จัก ลพ.อุ้น กันอย่างกว้างขวาง

ปี 2541 ได้สร้างเหรียญเสมา ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญรุ่น 2 ของท่าน และเป็นรุ่นที่เอาไปแจกทหารไปติมอร์

พ.ศ.2542 สร้างพระกริ่ง 3 พิมพ์ คือ พระกริ่งตั๊กแตนใหญ่ พระกริ่งบาเก็ง พระกริ่งจีนสมาธิ และเหรียญหล่อ 1 

พิมพ์ คือ เหรียญหล่อสุริยประภา จันทรประภา โดยสร้างด้วยกัน 2 เนื้อ คือเนื้อนวะ และเนื้อชนวน

และหลังจากนั้นก็ได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะสร้างอย่างละไม่มากรวมถึงจัดสร้างเครื่องรางต่างๆ มากมาย อาทิ ผ้ายันต์ ตะกรุด หนุมาน มีดหมอ เป็นต้น วัตถุมงคลของท่านที่จัดสร้างขึ้นนั้นมากด้วยพุทธคุณด้านคุ้มครองปลอดภัยและเมตตามหานิยม จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง 

นับได้ว่า ลพ.อุ้น เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนาธุระ และสืบทอดพุทธาคมจากบุรพาจารย์ที่โด่งดังในอดีต มากด้วยครูอาจารย์ บริสุทธิ์ด้วยปฏิปทาสีลวัตร เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรมเป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชนที่เข้าใกล้

กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ครับ