เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี สร้างในคราวที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญ ปี 2518 ตอกโค๊ตด้านหน้าชัดเจน รมดำ สวยมากๆ

3,500.00 ฿

รายละเอียดเพิ่มเติม

เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี สร้างในคราวที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญ ปี 2518 ตอกโค๊ตด้านหน้าชัดเจนครับ สวยมากๆ รมดำไม่มีเปิดเลย

สภาพเเบบนี้ไม่เจอน้อยๆนะครับ ถ้าพูดถึงสุดยอดพระปิดตาเนื้อผงของประเทศไทยที่มีราคาสูงทะลุเลข 7 หลัก หนึ่งในนั้นต้องยกให้พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงลอยองค์ จากผงมหาโสฬสมงคล ผงไตรสรณคมณ์ ผงอิติปิโส ว่าน ชันยาเรือและรัก เป็นต้น พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม อายุกว่าร้อยปี มีทั้งแบบเนื้อผงคลุกรัก จุ่มรัก มีพิมพ์หลักคือ พิมพ์ชะลูดใหญ่ บางคนเรียกพิมพ์ว่าวจุฬาใหญ่ มีค่านิยมสูงสุด พิมพ์ตะพาบ มีทั้งแบบหน้าเดียว และสองหน้าที่หายากโคตร หลังจากหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพลงราวปี2439 ก็ยังมีศิษย์สืบทอดวิชาการสร้างพระปิดตาคือหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง ที่ทำพิมพ์ออกมาคล้ายๆหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งหลวงปู่กลิ่น ก็เป็นพร ะที่มีชื่อเสียงไม่เบา เป็น 1 ใน 108 พระเกจิที่ได้มาในพิธีวัดราชบพิธ ปี 2481 พระปิดตาของหลวงปู่กลิ่น ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน แต่หาของแท้ๆยาก หลวงปู่กลิ่น ได้มรณภาพลงเมื่อราวปี 2490 สำหรับศิษย์สายตรงองค์สุดท้ายถัดมาคือหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นับเป็นพระเกจิที่สร้างพระปิดตาสายวัดสะพานสูง ไว้มากที่สุดมีหลายพิมพ์ ท่านสร้างตั้งแต่ก่อนปี 2500 จนถึงปี 2520กว่าๆ พระปิดตาหลวงพ่อทอง จะมีเนื้อหาและพิมพ์ทรงที่เล่นหาสะสมแยกแยะได้ไม่ยากครับ พระบางรุ่นเนื้อหาเป็นผงแก่น้ำมัน บางรุ่นก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นพิมพ์สะดือจุ่น ประสบการณ์พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข ก็ไม่เบา สามารถบูชาแทนพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม หรือ หลวงปู่กลิ่น ได้อย่างสบายใจ เพราะพระปิดตาหลวงพ่อทองสุข ทุกรุ่นจะมีมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆสมัยหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ผสมลงไปด้วยทุกครั้ง พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข มีทั้งแบบพิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ เป็นหลัก จะแยกย่อยเป็นพิมพ์และขนาดต่างๆกันไป พระของท่านมีทั้งจุ่มรัก ไม่จุ่มรัก และแบบผงคลุกรัก เป็นต้น มีทั้งแบบหน้าเดี่ยวและสองหน้า ซึ่งพิมพ์สองหน้าจะหาได้ยากกว่า ประวัติย่อ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร หรือ พระครูนนทกิจโสภณ วัดสะพานสูข จ.นนทบุรี เกิด 11 มีนาคม 2446 ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ท่านเข้ารับราชการเป็นตำรวจอยู่ประมาณ 1ปี เกิดเบื่อหน่ายทางโลกจึงได้ออกบวชเมือปี 2470 ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูงได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ 3 พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. 2474 เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จน 2475 สอบนักธรรมได้ 2476 ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่นจึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรช่วยกัน หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถรสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น จนเมื่อปี 2482 ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปี 2490 หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ปี 2491 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง 9 พฤษภาคม 2508 จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ หลวงพ่อทองสุข ได้มรณภาพอย่างสงบเมื่อ 7 เมษายน 2525อายุได้ 79 ปี ในสมัยที่หลวงพ่อทองสุข ยังมีชีวิตท่านมักจะได้รับเชิญให้ไปพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆอยู่เป็นประจำ เช่น พิธียี่สิบห้าศตวรรษ พิธีวัดประสาท ปี06 พิธีวัดราชบพิธ ปี13 พิธีวัดระฆังปี15 พิธีวัดบางขุนพรหมปี17 พิธีวัดถ้ำตะเพียนทองปี23 เป็นต้น หลวงพ่อทองสุข นับเป็นเกจิที่ดังที่อยู่ในแนวหน้าของนนทบุรี ในยุคหลังปี2500 เคียงคู่กับหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง เป็นต้น เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี สร้างในคราวที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญ ปี 2518 เหรียญ หลวงพ่อทองสุข รุ่นนี้น่าจะเป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ รุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่าน เหรียญ รุ่นสร้างศาลา หลวงพ่อทองสุข ปี 2518 เป็นเหรียญรุ่นที่ 6ของท่าน นับเป็นเหรียญที่ออกแบบได้สวยงาม น่าบูชามากๆ พระเครื่องของหลวงพ่อทองสุข สร้างจำนวนไม่กี่รุ่นครับ สมัยท่านมีชีวิตอยู่จะอนุญาตให้สร้างเหรียญเฉพาะในวาระสำคัญๆเท่านั้น เท่าที่นับดูคร่าวๆประมาณ 10 กว่ารุ่นครับ พระเครื่องหลวงพ่อทองสุข พุทธคุณสูงมากไม่แพ้สำนักอื่นๆ หลวงพ่อทองสุข ท่านจะปลุกเสกเน้นด้านเมตตา แคล้วคลาด โชคลาภ ท่านเคยบอกกับลูกศิษย์ว่าท่านไม่ชอบคงกระพัน