คำถามที่ถามบ่อย

Q: สินค้าที่ลงในเว็บถ้าทำการตกลงซื้อขายกันแล้ว และก็โอนเงินไปแล้วกลัวจะไม่ได้สินค้า
A: ถ้าโอนเงินมาแล้วกรุณาโทษแจ้งว่าท่านโอนเงินแล้ว และแจ้งที่อยู่ที่จะส่ง ทางเราจะจัดส่ง EMS ให้ท่าน ท่านจะได้รับสินค้าภายใน 3 วันทำการ

Q: สินค้าในเว็บแพงไป
A: ราคาขึ้นอยู่กับความแปลี่ยนแปลงของตลาดและความนิยม
ท่านสามารถโทรคุยกับเบอร์ผู้ขายได้โดยตรง อยู่ที่ท่านจะตกลงกัน

Q: พระทุกองค์แท้หรือไม่
A: เรากล้ารับประกันท่านแท้ 100% ถ้าไม่แท้เรายินดีคืนเงินเต็มจำนวนไม่มีหักใดๆ

Q: การดูพระทางอินเตอร์เน็ต สามารถรู้เก๊ แท้ ได้จริงหรือ?
A: บางองค์ บางชนิด บางประเภท สามารถดูได้ และตอบได้ว่า เก๊ หรือแท้ แต่บางองค์ก็ตอบไม่ได้ โดยเฉพาะเหรียญจะตอบยากมาก
การที่สามารถดูได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับความรู้ และประสบการณ์ของผู้ดูว่ามีความชำนาญในระดับใด ถ้าแม่นพิมพ์เห็นแค่รูปภาพก็สามารถตอบได้เลยว่า เก๊ หรือ แท้ เหมือนกับเราจำคนทำไมเราจำคนได้ตั้งมากมาย รู้ว่าใครเป็นใคร ก็เพราะเรารู้ว่าใครมีลักษณะอย่างไร เพียงเห็นแค่ภาพถ่ายก็รู้ว่า คือใคร ทำนองเดียวกับพระเครื่อง ถ้าเรารู้ว่าพระเครื่อง ชนิดนั้นๆ มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน หรือ พิมพ์ทรงอย่างไร ก็สามารถตอบได้ เว้นแต่ภาพไม่ชัด แสงเพี้ยนไม่เป็นธรรมชาติ ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ควรคำนึงถึง ดังนั้น โดยสรุปแล้ว การดูพระผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถบอกเก๊ แท้ ได้เกินกว่า 90 % ขึ้นไป
ในอดีตก็เหมือนกับเราดูเพียงภาพถ่าย ในหนังสือพระเครื่องก็บอกได้ว่าเก๊ แท้ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะดูด้วยวิธีใดก็ตาม แม้แต่ดูจากองค์พระจริงๆ ก็ยังอาจพลาดได้ ดังนั้นการซื้อขาย ควรมีการรับประกัน อย่างรัดกุมดีที่สุด

Q: ไม่รู้ใครเป็นใคร จะซื้อขายกันได้หรือ?
A: ก็จริงครับ ดังนั้นการจะจ่ายเงินให้ใคร หรือส่งพระให้ผู้ซื้อควรมีการตรวจสอบกันให้ดี เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร หรือ นัดเจอกัน ฯลฯ ก็ช่วยได้มาก ทุกสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่วปะปนกัน อย่างไรก็ตามการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด คืออย่าโลภ อย่าอยากได้ของถูกๆ อย่าเชื่อใจจนเกินไป การซื้อขายมักจะยากในครั้งแรก แต่ถ้าไม่มีปัญหาครั้งต่อไปค่อนข้างปลอดภัย ถ้าหลอกลวงต้มตุ๋นกันแจ้งตำรวจดำเนินคดีได้เลย ให้เน้นการจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคารไว้ จะได้มีข้อมูลเวลามีปัญหา

Q: พระราคาตั้งเป็นพัน เป็นหมื่นหรือเป็นแสน ซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตกันจริงๆ หรือ?
A: ของจริงกันทั้งนั้นครับ วงการพระเครื่องเป็นวงการที่แปลก ค่อนข้างจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันมาก เงินหมื่น เงินแสน บางทีเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าวงการอื่นแล้ว เรื่องใหญ่ ธุรกิจที่เกิดขึ้นในวงการพระมักอยู่นอกตำราที่มีสอนในสถาบันใดใด

Q: ซื้อ-ขายพระ ไม่บาป หรือ?
A: คิดมากครับ การซื้อขายพระเครื่องเป็นความสุขทางจิตใจอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายไม่ได้ทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองเสียหาย การซื้อขายพระเครื่องเป็นอาชีพที่สุจริตและไม่ผิดกฎหมาย ผู้นับถือสิ่งที่เป็นวัตถุมงคล ย่อมดีกว่านับถือสิ่งอัปมงคลอย่างน้อยก็กราบไหว้พระ บางคนประณามคนในวงการพระว่า “ขายพระกิน” แล้วมันผิดตรงไหน ถ้าไม่ทำดัดจริตเกินไป ลองมองสิว่ามีประโยชน์และโทษอย่างไร และชั่งน้ำหนักดูคนขายพระจะผิดจะชั่วก็ต่อเมื่อ หลอกขายพระเก๊ ขโมยพระ ต้มตุ๋น หลอกลวง ฯลฯ ว่าไปแล้วลองดูสิว่า ผู้ต้องขังนักโทษทั่วประเทศ มีคนในวงการพระกี่คนกัน แทบจะนึกไม่ออก ข้าราชการที่ทุจริต พ่อค้าที่ขูดรีด คดโกงเอาเปรียบประชาชน กับ คนขายพระ ใครคือคนชั่วครับ

ยกตัวอย่างสักเรื่องให้คิด

สมมุติว่า นายดีเด่น เป็นคนดีมากและต่อต้านวงการพระเครื่อง ประณามคนขายพระว่า ชั่ว คบไม่ได้ อยู่มามิช้านาน เมียนายดีเด่น เกิดป่วยหนักจะตายต้องใช้เงินรักษาจำนวนมากแต่เงินไม่พอ นายดีเด่น มีเพื่อนรักอยู่คนจึงไปหาหวังให้ช่วย ปรากฏว่า เพื่อนก็ไม่มีเงิน แต่ว่าเพื่อนนายดีเด่นก็ดีใจหาย ถอดสร้อยคอและเอาพระที่แขวนอยู่ ให้นายดีเด่นไป เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แท้ดูง่ายแล้วบอกว่า “เอาไปขายเถิดเพื่อนได้เงินแน่”
ผมมีคำถามว่า “ถ้าท่านเป็นนายดีเด่น ท่านจะทำอย่างไร? “

1.เอาพระไปขายและเอาเงินไปรักษาคน
2.ไม่เอาไปขาย กลับไปดูใจเมียดีกว่า
3.เอาพระไปทำน้ำมนต์ให้เมียกิน
4.ยอมให้เมียตายจะได้ชื่อว่า “ไม่ขายพระ”

ครับ ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกทางเดินของชีวิต โลกมนุษย์มี หลากหลายสังคม หลากหลายอาชีพ ทุกอาชีพมีดีเลวปะปนกัน อาชีพอะไรบ้างในโลกนี้ที่ไม่มีคนชั่ว ท่านลองนึกหาดู…. คงจะเหมือนกับหาหนวดเต่า เขากระต่าย… ตายเปล่าเอย… ตามที่ท่านพุทธทาส ท่านว่าไว้กระมังครับ