พระมหาสังกัจจายน์ สมปรารถนา
พระมหาสาวกที่เรานิยมบูชาเชื่อถือกันว่าเป็นมหาอุดมลาภนั้นคือ พระสิวลีและพระมหากัจจ犀利士
ายนะ พระสิวลีนั้นเป็นเอกทางมหาอุดม ลาภผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า ท่านพระสิวลีเป็นเอตทัคคะในทางมีลาภมาก ส่วนท่านมหากัจจายนะ เป็นผู้อุดมลาภเช่นกันแต่เป็นลาภสักการะอันเกิดจากความมีเสน่ห์ในตัวท่าน พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า “ท่านมหากัจจายนะเป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร” ท่านมหากัจจายนะนี้เป็นผู้ที่มีรูปร่างสวยงาม มีสง่าราศีผิวพรรณงามดั่งทองคำ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าท่านจึงเนรมิตให้อ้วนพุงพลุ้ยเพื่อที่คนจะได้ไม่เข้าใจผิดอีกต่อไปแต่ถึงอย่างไรท่านก็ยังดูสวยงามมีเสน่ห์ มีลาภสักการะอยู่ดี ในเมืองไทยเรานิยมสร้างรูปพระมหากัจจายนะเป็นรูปพระอ้วนพุงพลุ้ย น่ารัก ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ใจดี ผู้ใดพบเห็นรูปจำลองพระมหากัจจายนะจะรู้สึกจิตใจสงบ ชื่นบานยินดี ไม่เคยปรากฎว่าจะมีคนเห็นรูปพระมหากัจจายนะแล้วไม่ชอบ มีแต่จะนิยมบูชาด้วยความเบิกบานเลื่อมใสทุกคน ชื่อพระมหากัจจายนะนั้น เราเรียกไปเป็นชื่ออื่น เช่นพระสังขจายน์ พระสังกัจจายน์ การบูชาพระมหากัจจายนะเราหวังพึ่งบารมีทางด้านความมีเสน่ห์ มีลาภเท่านั้นเอง
มีวัดหลายวัดที่ได้จัดสร้างรูปแบบรพะมหากัจจายนะ ทั้งในรูปแบบบูชาและขนาดห้อยคอ ทางผู้เขียนจะขอนำเสนอพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ของอีกสำนักหนึ่ง(วัดหนึ่ง)ที่บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดอลังการงานสร้าง ทั้งมวลสารและเกจิอาจารย์ผู้อธิฐานจิตปลุกเสกเรียกได้ว่าดีนอก-ดีใน ก็คือพระสังกัจจายน์รับลาภ รุ่น “สมปราถนา” ของพระเดชพระคุณท่านพระครูบวรกิจโกศล (หลวงพ่อตัด) แห่งวัดชายนานั้นเอง การจัดสร้างนั้นได้สร้างเป็นรูปลักษณะเป็นรูปเหมือนลอยองค์ของพระสังกัจจายน์ มีสรีระสมบูรณ์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเขียง มือทั่งสองข้างวางหงายบนเข่าในลักษณะรับลาภ รับทรัพย์ รับเงินรับทองและสิ่งดีงาม การจัดสร้างนั้นได้จัดสร้างออกเป็นทั้งหมดด้วยกัน ๕ เนื้อ ดังต่อไปนี้
๑.เนื้อทองคำ จำนวน ๕ องค์
๒.เนื้อเงิน จำนวน ๒๐๐ องค์
๓.เนื้อนวะโลหะ จำนวน ๔๐๐ องค์
๔.เนื้อสตางค์ จำนวน ๗๐๐ องค์
๕.เนื้อตะกั่ว จำนวน ๒๐๐ องค์ (ตะกั่วอวนผสมตะกั่วปากถุงเงิน)
ส่วนผสมและมวลสารที่ใช้เทหล่อนั้นจะกล่าวดังต่อไปนี้
เนื้อเงิน สถาปนาจากทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ทองชนวนพระสังกัจจายน์ เงินพดด้วง เหรียญบาทรุ่นเก่า และแผ่นเงินบริสุทธิ์ถวายพระสุปฎิปัณโณบริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมุติ ลงอักขระ เลขยันต์ จำนวน ๘ องค์
๑.ทองฉนวนพระกริ่งเพชรกลับ วชิรเวท เนื้อเงิน วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี
๒.ทองฉนวนพระมหาสังกัจจายน์ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
๓.ทองฉนวนพระมหาสังกัจจายน์ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
๔.ทองฉนวนพระมหาสังกัจจายน์ หลวงปู่จ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี
๕.เงินพดด้วงตรายันต์และตราราชวัตร สมัยอยุธยา จำนวน ๓ หน่วย
๖.เงินบาทสมัย ร.๔,ร.๕,ร.๖,และร.๗ จำนวน ๙ หน่วย
๗.แผ่นเงินลงอักขระเลขยันต์ ทางโชคลาภโดยพระสุปฎิปัณโณผู้เป็นเอกทางโชคลาภ จำนวน ๘ รูป ได้แก่
-หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
-หลวงปู่แก้ว วัดดอยโมคคัลลาน์ จ.เชียงใหม่
-หลวงปู่แหวน วัดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
-หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา
-หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
-หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.นครปฐม
-หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
-หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา
เนื้อนวะโลหะ สถาปนาจากทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม หลายวาระทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์และเหรียญหล่อของสำนักอื่นๆที่มีชื่อเสียงจำนวนมากและแผ่นทองแดงลงอักขระเลขยันต์ โดยพระสุปฏิปัณโณที่บริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมุตติทุกภาคทั่วประเทศ วัตถุมงคลอาถรรพ์ รวมทั้งตะกรุดสำคัญๆของพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
๑. ทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม
๑.๑ สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
๑.๒ พระมงคลราชมุนี (สนธิ์)
๑.๓ พระศรีสังวรญาณ (ประหยัด)
๑.๔ พระญาณโพธิ์ (เข็ม)
๒. ทองชนวนพระกริ่ง เศรวตฉัตร วัดเศวตฉัตร กทม.ฯ
๓. ทองชนวนพระกริ่ง บวรรังสี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.ฯ
๔. ทองชนวนพระกริ่งอรหัง วัดราชาธิวาส กทม.ฯ
๕. ทองชนวนพระกริ่ง สังวรวิมล วัดประดู่ฉิมพลี กทม.ฯ
๖. ทองชนวนพระกริ่ง อโยธยา วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา.
๗. ทองชนวนพระกริ่ง ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา.
๘. ทองชนวนพระกริ่ง ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี
๙. ทองชนวนพระกริ่ง ชินบัญชร วัดระหารไร่ จ.ระยอง
๑๐. ทองชนวนพระกริ่ง ไตรโลกนาถ วัดวังหว้า จ.ระยอง
๑๑. ทองชนวนพระกริ่ง ชุติมนโต วัดใหม่บ้านกลอ จ.นครราชสีมา
๑๒. ทองชนวนพระกริ่ง มหาปรารถนา วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
๑๓. ทองชนวนพระกริ่ง แสนเมืองมา สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
๑๔. ทองชนวนพระกริ่ง โพธิพรหม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
๑๕. ทองชนวนพระกริ่ง อรหัง วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
๑๖. ทองชนวนพระกริ่ง นิมมานโกวิท วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์
๑๗. ทองชนวนพระกริ่ง เงินล้าน วัดบางพระ จ.นครปฐม
๑๘. ทองชนวนพระกริ่ง มหาจักรพรรดิ อุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
๑๙. ทองชนวนพระกริ่ง สุตาธิการี วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
๒๐. ทองชนวนพระกริ่ง ชินวัโส วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
๒๑. ทองชนวนพระกริ่ง นะปัดตลอด วชิรเวท วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี
๒๒. ทองชนวนพระกริ่ง สุจิตโต วัดมะปริง จ.สุราษฏร์ธานี
๒๓. ทองชนวนพระกริ่ง มหามงคล วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
๒๔. ทองชนวนพระกริ่ง ภัทริโย วัดโคกสูง จ.สงขลา
๒๕. โลหะทองระฆัง วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
๒๖. โลหะทองจังโกบุองค์พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
๒๗. ขวานฟ้าสัมฤทธิ์ จ.เลย
แผ่นทองแดงลงอักขระ เลขและยันต์ โดยพระสุปฏิปัณโณ ที่บริสุทธิ์ด้วยวิชชาและวิมุตติ จำนวน 108 องค์ได้แก่
๑ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) วัดบวรนิเวศน์วิหาร กทม
๒ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ทิม) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม
๓ พระธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน กทม
๔ พระราชสังวราภิมณฑ์(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม
๕ พระราชสุดกวี (สิงห์) วัดแก้วไกรวราราม จ.กระบี่
๖ พระวิบูลย์วชิรธรรม(สว่าง) วัดคหบดีสงฆ์ จ.กำแพงเพชร
๗ หลวงพ่อเมือง พลวุฒโฑ วัดป่ามัชฌิมาวาส จ.กาฬสินธุ์
๘ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
๙ หลวงพ่อสาย วัดทาขนุน จ.กาญจนบุรี
๑๐ หลวงปู่ผาง วัดป่าอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
๑๑ หลวงปู่ทอง วัดก้อนแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา
๑๒ หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
๑๓ หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง จ.ชลบุรี
๑๔ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกระเฌอ จ.ชลบุรี
๑๕ หลวงพ่อดัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท
๑๖ หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ จ.ชัยนาท
๑๗ หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
๑๘ หลวงพ่อศรีนวล วัดเจริญเมือง จ.เชียงราย
๑๙ หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
๒๐ หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่
๒๑ หลวงปู่สิม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
๒๒ ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่
๒๓ ครูบาน้อย วัดบ้านปง จ.เชียงใหม่
๒๔ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
๒๕ ครูบาอินถา วัดถ้ำบ่อน้ำหลวง จ.เชียงใหม่
๒๖ หลวงปู่กลิ่น วัดบังปรือ จ.ตราด
๒๗ หลวงพ่อรุ่ง วัดตรัยภูมิพุทธาวาส จ.ตรัง
๒๘ ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขต จ.ตาก
๒๙ หลวงปู่ภู วัดช้าง จ.นครนายก
๓๐ หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม
๓๑ หลวงปู่ตื้อ วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม
๓๒ หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
๓๓ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
๓๔ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช
๓๕ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
๓๖ พ่อท่านมุ้ย วัดป่าระกำเหนือ จ.นครศรีธรรมราช
๓๗ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
๓๘ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน จ.นครสวรรค์
๓๙ หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
๔๐ ครูบาบุญทา วัดดอนตัน จ.น่าน
๔๑ หลวงปู่เหม้า วัดโคกเหล็ก จ.บุรีรัมย์
๔๒ หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี
๔๓ หลวงพ่อเทียม วัดลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
๔๔ หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
๔๕ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
๔๖ หลวงพ่อลี วัดแจ้ง จ.ปราจีนบุรี
๔๗ หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี
๔๘ หลวงพ่อดำ วัดมูลกฐินทรวาปรีวิหาร จ.ปัตตานี
๔๙ พ่อท่านนอง วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
๕๐ พ่อท่านแดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี
๕๑ พ่อท่านบุญ วัดสาลวัน จ.ปัตตานี
๕๒ หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๓ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๔ หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๕ หลวงปู่สี วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๖ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
๕๗ พระอาจารย์ไพบูลย์ วัดอนาลโย จ.พะเยา
๕๘ หลวงปู่มงคล วัดมงคลทับคล้อ จ.พิจิตร
๕๙ หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
๖๐ หลวงพ่อหรั่ง วัดสามเรือน จ.พิษณุโลก
๖๑ หลวงพ่อทบ วัดโบสถ์โพธิ์ทอง จ.เพชรบูรย์
๖๒ หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี
๖๓ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
๖๔ หลวงปู่อ่อน วัดลุมพินี จ.พังงา
๖๕ พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จ.พัทลุง
๖๖ พ่อท่านเล็ก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง
๖๗ พ่อท่านนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
๖๘ หลวงปู่สุภา สำนักสงฆ์เทพขจรจิตอุทิศ จ.ภูเก็ต
๖๙ หลวงปู่หล้า วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร
๗๐ หลวงพ่อบัวเกตุ วัดป่าบ้านแม่ปาง จ.แม่ฮ่องสอน
๗๒ หลวงตาพวง วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
๗๓ หลวงปู่ศรี วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
๗๔ หลวงพ่อด่วน วัดวารีบรรพต จ.ระนอง
๗๕ หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง
๗๖ หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิบผลิวนาราม จ.ระยอง
๗๗ หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
๗๘ หลวงปู่บุญ วัดวังมะนาว จ.ราชบุรี
๗๙ หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๘๐ หลวงปู่บุญตา วัดคลองเกตุ จ.ลพบุรี
๘๑ หลวงพ่อตัด วัดชายนา จ.เพชรบุรี
๘๒ ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
๘๓ หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
๘๔ หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
๘๕ หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย
๘๖ หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ จ.ศรีษสะเกษ
๘๗ หลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
๘๘ พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
๘๙ พ่อท่านเอียด วัดบางกล่ำ จ.สงขลา
๙๐ พ่อท่านภัทร วัดโคกสูง จ.สงขลา
๙๑ หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม
๙๒ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสงคราม
๙๓ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
๙๔ หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆษิตาราม จ.สมุทรสงคราม
๙๕ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๙๖ หลวงพ่อเจริญ วํดธัญญวารี จ.สุพรรณบุรี
๙๗ หลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
๙๘ หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
๙๙ หลวงปู่เทศน์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๑๐๐ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
๑๐๑ หลวงปู่บุญมา วัดป่าสิริสาลวัน จ.หนองบัวลำภู
๑๐๒ หลวงพ่อหรุ่น วัดบางจักร จ.อ่างทอง
๑๐๓ ญาท่านสวน วัดนาอุดม จ.อุบลราชธานี
๑๐๕ หลวงปู่พุฒ วัดมณีสถิตย์ จ.อุทัยธานี
๑๐๕ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
๑๐๖ หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
๑๐๗ หลวงปู่คำพอง วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
๑๐๘ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์
เนื้อชินตะกั่ว สถาปนาจากเนื้อชินตะกั่วจากพระกรุพระสำคัญ พระเครื่องเนื้อชินโบราณที่ชำรุด ตาปูสังขวานรตะกั่วอวน
และตะกั่วปิดปากถุงเงิน ที่ได้ผ่านการปลุกเสกจากพระคณาจารย์ทรงภูมิธรรม ดังรายละเอียด
๑. เนื้อชินตะกั่วจากพระกรุสำคัญ ได้แก่
-เนื้อชินจากกรุวัราชนัดดา พระนครศรีอยุธยา
-เนื้อชินจากกรุเขาพนมเพลิง สุโขทัย
-เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงจากกรุท่ากระดาน กาญจนบุรี
๒. เนื้อชินจากพระเนื้อชินที่ชำรุดจำนวนมาก
-พระโคนสมอ กทมฯ
-พระปรุหนัง พระนครศรีอยุธยา
-พระปรกพระงั่ว พระนครศรีอยุธยา
-พระมเหศวร สุพรรณบุรี
-พระขุนแผนเขาชนไก่ กาญจนบุรี
-พระกำแพงห้าร้อย กำแพงเพชร
-พระปรกโพธิ์ เชียงแสน เชียงราย
๓. ตะกรุดโบราณเนื้อเงิน
-เมืองโบราณบ้านดงละคร นครนายก
-เจดีย์โบราณดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
๔. ตะกรุดชินตะกั่วที่สำคัญหลายสำนักได้แก่
-ตะกรุดโทนหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม จ. สมุทรสงคราม
-ตะกรุดโทนหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จ.สมุทรสงคราม
-ตะกรุดโทนหลวงพ่อม่วง วัดคุ้งกระถิน จ.ราชบุรี
-ตะกรุดโทนหลวงพ่ออ๋อย วัดไทร จ.สมุทรสงคราม
-ตะกรุดโทนหลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี
๕. ตาปูสังขวานร ได้จากพระอุโบสถวัดโบราณในเขตเมืองเก่าอยุธยาและจากพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
๖. จ้าวน้ำเงิน ได้จาก สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว)และของสำนักเขาอ้อที่หุงโดยหลวงพ่อศรีเงินวัดดอนศาลาในคราวสร้างพระชุดมหามงคล
๗. ดีบุก เป็นดีบุกบริสุทธิ์จากเหมืองใน จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ นำมาหลอมรีดเป็นแผ่นแล้วนำถวายพระคณาจารย์ที่ทรงภูมิธรรม รวม ๕ ท่านได้แก่
-หลวงปู่รื่น วัดนกงาง จ.ระนอง
-หลวงปู่อ่อน วัดลุมพินี จ.พังงา
-หลวงปู่สุภา วัดศีลสุภาราม จ.ภูเก็ต
-หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่
-หลวงปู่ชวน วัดประสิทธิชัย จ.ตรัง
๘. ตะกั่วอวน ใช้ลูกที่อยู่ในตำแหน่งปากอวนจากเรือประมง นำมาหลอมและรีดเป็นแผ่นขนาด ๕คูณ๕ แวนำไปถวายพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในการลงพระยันต์พิชิตสมุทร
-หลวงปู่เกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธุ์
-หลวงปู่สุข วัดตุยง จ.ปัตตานี
๙. ตะกั่วปิดปากถุงเงิน ซึ่งคนโบราณถือว่าสมารถเก็บกักเงินให้ได้ และนำไปถวายหลวงพ่อตัด วัดชายนา ปลุกเสก
เนื้อทองโภคทรัพย์(เนื้อสตางค์) สถาปนาจากพระทองชนวนพระพุทธรูปสำคัญ ทองจังโกบุพระธาตุ เหรียญ ๕๐ สตางค์รุ่นเก่า(พ.ศ.๒๔๙๗ และ พ.ศ. ๒๕๐๐) ตะกรุดฝาบาตรและแผ่นทองเหลืองลงอักขระ เลข ยันต์ ดังรายละเอียด
๑. ชิ้นส่วนองค์พระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
๒. ทองสัมฤทธิ์ยอดเจดีย์โบราณ เวียงเชียงแสน จ.เชียงราย
๓. ทองระฆังหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
๔. ทองจังโกบุพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
๕. ทองจังโกบุพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
๖. ทองจังโกบุพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
๗. ทองจังโกบุพระธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่
๘. ตะกรุดและแผ่นยันต์ทองฝาบาตร จำนวนมาก
๙. เหรียญทองสตางค์โคทรัพย์ พ.ศ.๒๔๙๗ และ พ.ศ.๒๕๐๐ จำนวน ๑,๙๙๙ เหรียญ
๑๐. ฝาบาตร พระสุปฏิปัณโณ จำนวน ๓ ฝา
๑๑. แผ่นทองเหลืองลงอักขระ เลข ยันต์ โดยพระสุปฏิปัณโณที่บริบูรณ์ด้วยวิชชาและวิมตติจำนวน ๑๙ แผ่น ดังนี้
– หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
– หลวงพ่อวง วัดตึกมหาชยาราม จ.สมุทรสาคร
– หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
– หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม
– หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
– หลวงหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
– หลวงพ่อนนท์ วัดเหนือวน จ.ราชบุรี
– หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ จ.ราชบุรี
– หลวงพ่อม่วง วัดยางาม จ.ราชบุรี
– หลวงพ่อยง วัดหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี
– หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี
– หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี
– หลวงพ่อตัด วัดชายนา จ.เพชรบุรี
– หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธุ์
– หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
– หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี
– หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
– หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี จ.สุพรรณบุรี
– หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอย จ.ชัยนาท
ข้อความที่กล่าวข้างต้นทั่งหมดนี้คือชนวนมวลสารที่หล่อหลอมจริงรวมกันเป็น
“พระสังกัจจายน์ รุ่น สมปราถนา”
พระสังกัจจายน์รับลาภ รุ่นสมปราถนานี้ ทางคณะผู้จัดสร้างได้นำถวายแก่ท่านพระครูบวรกิจโกศล (หลวงพ่อตัด) วัดชายนา ต.ในดง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปลุกเสกและอธิฐานจิตโดยตัวท่านเอง ณ ที่พักของท่านตั่งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม – ๗เมษายน ๒๕๔๙
เป็นไงบ้างครับกับรายละเอียดของชนวนมวลสารเรียกได้ว่าสุดยอดของสุดยอดจริงๆแถมพระชุดนี้หลวงพ่อตัดท่านยัง
อธิฐานจิตปลุกเสกให้นานมาก ถึง ๙๖ วัน
ในอนาคตต่อไปจะหาได้ยากเพราะสร้างน้อยตามจำนวนที่กล่าว จึงเป็นที่น่าเก็บไว้บูชา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพระสังกัจจายน์
รุ่นแรกของหลวงพ่อตัด และอีกอย่างทางคณะผู้จัดสร้างมีเจตตนาสร้างที่บริสุทธิ์สร้างเพื่อถวายหลวงพ่อตัด เพื่อตอบแทนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดชายนาให้ คงทนถาวรและสวยงามดังเดิม
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน
หลอ ชลบุรี